วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เสาเข็มตอกหลุด Blow ใครได้ใครเสีย?

เมื่อไม่กี่วันมีเรื่องให้ต้องแปลกใจ เกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้รับเหมาตอกเสาเข็มของโครงการหนึ่ง ที่ตอกเสาเข็มแล้วเสร็จแล้ว แต่ยังมีเรื่องคาราคาซังเกี่ยวกับเงินงวดสุดท้ายที่เจ้าของงานไม่ยอมจ่ายซักที เรื่องของเรื่องก็คือว่า ตกลงเรื่องจำนวนเงินรับประกันผลงานกันไม่ลงตัวระหว่างเจ้าของโครงการกับผู้รับเหมา

ความจริงแล้วก็น่าเห็นใจผู้รับเหมารายนี้พอสมควร งานก็ทำเสร็จแล้ว เอกสารส่งมอบก็ส่งและรับมอบกันเรียบร้อย แต่ทำไม่เจ้าของงานไม่ยอมจ่ายเงินซักที ปัญหาก็คือ มันไม่ใช่แค่เจ้าของงานกับผู้รับเหมาที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ แต่ยังไม่บริษัทที่ปรึกษา บริษัทสำรวจปริมาณงาน หรือที่เราเรียกกันว่า "QS" แถมยังพ่วงด้วยผ้ออกแบบโครงสร้างเข้าไปอีก ซึ่งแต่ละส่วนก็ต้องการที่จะสร้างผลงานให้เจ้าของงานประทับใจ โดยหวังว่างานที่กำลังจะมีต่อไปของเจ้าของในอนาคตอันใกล้นี้ จะได้รับใช้เจ้าของงานต่อไปอีก

ความจริงที่ปรากฏแก่ทุกคนในเรื่องนี้ก็คือ มีเสาเข็มที่ตอกไปแล้วจำนวนหนึ่ง ไม่ได้ค่า blows ตามที่ผู้ออกแบบได้กำหนดไว้ (ไม่ขออธิบายเกียวกับเรื่องของ blows count นะครับ จะเข้ามาเขียนอธิบายในวันหลัง) โดยที่พยายามที่จะบอกแก่เจ้าของงานว่า ที่เสาเข็มไม่ได้ blow เป็นความผิดของผู้รับเหมา ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากการตอกเสาเข็มแซม ฝ่ายผู้รับเหมาก็แย้งกลับว่า "จะให้รับผิดชอบได้ยังไง ก็อั๊วทำตามแบบ ทุกอย่างทำตามข้อกำหนดหมดแล้ว เสาเข็มที่อั๊วตอกก็ไม่ได้เสียหาย แต่มันไม่ได้ blow เอง อั๊วผิดตรงไหน?" ตกลงแล้วใครผิดล่ะครับ?

ตามหลักการแล้ว การตอกเสาเข็มทุกต้น จะต้องมีการบันทึกประวัติเสาเข็มหรือที่เราเรียกว่า "ระเบียนเข็ม" โดยผู้รับเหมาจะทำการบันทึกและส่งเป็นรายงานประจำวันให้ผู้ควบคุมงานตรวจสอบทุกวัน หากมีอะไรที่ไม่ชอบมาพากลก็ต้องตรวจสอบกันได้ตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว ปัญหานี้ หากเราจะพูดกันจริงๆ ผู้รับเหมาไม่มีส่วนผิดเลย ไม่ควรที่จะต้องรับผิดชอบกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวพันกับปัญหานี้ เว้นไว้แต่ว่า ตรวจสอบเจอภายหลังว่ามีการบันทึกประวัติเสาเข็มเป็นเท็จ เพื่อปกปิดความผิดของตัวเอง (ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ อาจจะทำมาหากินในวงการไม่ได้อีก) แล้วทำไมผู้ออกแบบกับ QS จึงพยายามบอกว่าเป็นความผิดของผู้รับเหมาและผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบ อ้าว!!!   แล้วถ้าหากว่า ผู้รับเหมาไม่ผิดแล้วใครจะผิดล่ะ? แน่นอนต้องเป็นผู้ออกแบบ แล้ว QS เกี่ยวอะไรกับเขาด้วย เกี่ยวแน่นอน เพราะหน้าที่ของ QS เลยล่ะ ที่ต้องประหยัดทุกบาททุกสตางค์ให้กับเจ้าของงาน หากไม่มีจรรยาบรรณกันหน่อยรับรองทะเลาะกับผู้รับเหมาทุกโครงการ

จริงๆ แล้วเรื่องนี้ความจริงมันชัดเจนอยู่แล้ว มันอยู่ทีว่าใครจะกล้ามากพอที่จะพูดหรือเด็ดขาดในวิชาชีพของตัวเอง พอที่จะทุบหม้อข้าวของตัวเองได้ ผลประโยชน์ทั้งนั้นครับ ยังไงก็เพราๆกันหน่อยนะครับ เดี๋ยวนี้ความน่าเชื่อถือในวิชาชีพวิศวกรอย่างพวกเรามันลดน้อยลงเต็มทีแล้ว...

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Soil cement column

 Soil cement column ถือว่าเป็นโครงสร้างกันดินที่ได้รับความนิยมพอสมควรในเมืองไทยของเรา ถือว่าเป็นโครงสร้างกันดินที่มีราคาไม่สูงมากนัก ประหยัดกว่าระบบ Steel sheetpile และ Diafhapm wall และเป็นงานที่เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีพื้นที่ในการทำงานไม่มากนัก เพียงแค่ให้รถ Backhoe เข้าได้ก็สามารถทำงาน Soil cement columnได้แล้ว

หลักการของ Soil cement column คือ การทำให้ดินมีกำลังเพิ่มขึ้นโดยทำให้เป็นเสาเหมือนเสาเข็มเจาะเป็นแถวหลายแถวเรียงชิดติดกัน โดยอาศัยกำลังของดินที่ผสมกับปูนซีเมนต์ที่กวนให้ผสมกันแล้วทิ้งไว้ให้แข็งตัว ที่เรามักจะเรียกว่า soilcrete จนมีกำลังสามารถรับแรงกดได้ประมาณ  4-6 ksc. โดยประมาณ

Soil cement column สามารถรับแรงดันด้านข้างของดินได้เป็นอย่างดี เพิ่มความทึบน้ำ รับแรงกดจากน้ำหนักที่กระทำด้านบนได้มากขึ้น และเป็นการปรับปรุงคุณสมบัติของดินให้ดีขึ้นในเชิงวิศวกรรมฐานราก และในทางปฏิบัติ การทำ soil cement column จะยังไม่ค่อยแพร่หลายมากนักในเมืองไทย และดูเหมือนจะยังไม่เป็นที่คุ้นเคยกับวิศวกรของไทยซักเท่าไหร่

ในการทำ soil cement column ในเมืองไทยของเรา ยังไม่มีการตรวจสอบคุณภาพอย่างมีระบบที่ดีพอ ทำให้การควบคุมคุณภาพของการทำงานที่หน้าสนามจึงไม่มีมาตรการที่แน่ชัด ทำให้การควมคุมคุณภาพจึงเป็นแบบขึ้นอยู่กับผู้รับเหมาที่ทำงานมากกว่าการควบคุมจากผู้ควบคุมงาน ซึ่งเป็นหลักการที่ผิดอย่างมาก

ความจริงแล้ว การทำงาน soil cement column มีวิธีการทำงานที่มีหลักการที่สามารถยึดเป็นหลักในการทำงานได้ ซึ่งในที่นี้จะได้ยกตัวอย่างการทำงานที่หน้าสนามจริงให้รับถึงขั้นตอน วิธีการทำงานที่ได้เกิดขึ้นจริง โดยจะได้กล่าวในหัวข้อต่อไป